.css-1wn93q2 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-1wn93q2 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-1wn93q2 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-1wn93q2 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:”;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-1wn93q2 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-1wn93q2 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-1wn93q2 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}.css-1wn93q2 .similar__widget{height:160px;}@media (max-width:991px){.css-1wn93q2 .similar__widget{height:260px;}}

นูร์เบอร์กริงส่วนเหนือหรือที่เรียกกันว่า Nordschleife ได้ชื่อว่าเป็นสนามแข่งรถที่ขับยาก ท้าทาย และอันตรายที่สุดในโลก เนื่องจากถูกบังคับด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นหุบเขา จนได้รับฉายาว่า “The Green Hell” (นรกสีเขียว) ถูกใช้เป็นสนามแข่งรถสูตรหนึ่ง รายการเยอรมันกรังด์ปรีซ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 (1947) ถึง พ.ศ. 2513 (1970) (ยกเว้นปี พ.ศ. 2502) จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจนนักแข่งรถเสียชีวิตหลายคน นักแข่งรถจึงพากันประท้วงไม่ยอมร่วมแข่งขันที่นี่ จนกว่าจะมีการปรับปรุงสภาพสนามให้มีความปลอดภัย Nordschleife ได้รับการปรับปรุง แต่ก็ยังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงได้มีการสร้างส่วน Südschleife และ Zielschleife เพิ่มเติม พร้อมกับปรับเส้นทางของ Nordschleife ส่วนที่อันตรายออกไป และในปี พ.ศ. 2525 ได้สร้างสนามมาตรฐาน เรียกว่า GP-Strecke เปิดใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2527 และใช้เป็นสนามแข่งกรังด์ปรีซ์ จนถึงปัจจุบันสนามแห่งนี้มีที่นั่งจุผู้ชมได้ 150,000 คน

SPONSORED

สมาพันธ์ยานยนต์แห่งประเทศเยอรมัน (ADAC – Allgemeiner Deutscher Automobil Club) ได้ใช้สนามแห่งนี้เป็นหนึ่งในรายการ ADAC 24Hours Rennen Nürburgring ตั้งแต่ปี 1970 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นรายการที่ Toyota Motor Thailand ส่งรถเข้าร่วมทำการแข่งขันถึงสองรุ่น เพื่อเป็นการพิสูจน์ประสิทธิภาพของตัวรถ Toyota Altis ESport ในการวิ่งระยะทางไกล รายการแข่งรถชั้นนำระดับโลก ADAC 24Hours Rennen Nürburgring นี้ กำหนดเส้นทางใน Nordschleife (Northern Loop) มีความยาว 22.810 กิโลเมตร รวมกับ GP-Streke ความยาว 5.148 กิโลเมตร ที่ใช้แข่งรถ F1 รวมกันได้ระยะทางรวม 26 กิโลเมตร โดยมีโค้งอันตรายมากถึง 73 โค้ง ตลอดระยะการขับขี่ต่อรอบยาว 26 กิโลเมตร ในช่วงระยะเวลาของการแข่งขัน 24 ชั่วโมง ภายใต้หลังพวงมาลัย นักแข่งทุกคน ต้องเผชิญกับความยากของสนาม ทั้งความเร็วสูง โค้งแคบ หักศอก โค้งกะทันหัน ทางขึ้น-ลง สูงต่ำบนเนินเขา และจุด Blind corner ที่พร้อมจะทำให้นักขับมือใหม่ต้องเข้าสู่สถานการณ์วิกฤติได้ทุกเวลา

ด้วยความยากและท้าทายของสนามแห่งนี้ผลักดันให้สนามนูร์เบอร์กริงกลายเป็นสังเวียนสนามเวิลด์กรังด์ปรีซ์ที่ติดอันดับความสำคัญระดับโลก และมีชื่อเสียงติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก จากความนิยมการแข่งรถในรูปแบบ 24 ชั่วโมง รองจากการแข่งขันเลอมังต์ 24 ชั่วโมง และอเมริกา 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นรายการแข่งขันสำหรับรถโปรดักชันคาร์ คือรถที่จำหน่ายอยู่ในโชว์รูม และมีการนำมาโมดิฟายด์บางส่วนเพื่อนำไปแข่งขัน จึงเป็นรายการที่ผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ ทั่วโลก ส่งรถโปรดักชันคาร์เข้ามาแข่งขัน เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและสมรรถภาพของรถในแต่ละรุ่น มีทั้งรถยนต์จากยุโรป อาทิ Porsche / BMW / Mercedes Benz / Audi / Peugeot / Volkswagen / Renault / Opel สำหรับรถยนต์จากทวีปเอเชียจะเป็นรถญี่ปุ่นจากแบรนด์ผู้ผลิตชั้นนำ เช่น Toyota / Subaru / Hyundai เข้าร่วมทดสอบประสิทธิภาพของรถ

SPONSORED

SPONSORED

จากรูปแบบแทร็กการแข่งขันที่มีรูปแบบเป็นถนนระหว่างเมือง ซึ่งปกติใช้เป็นถนนสาธารณะ ที่ตัดผ่าเมืองและหุบเขา ความยาวกว่า 20 กิโลเมตร มาเชื่อมต่อเข้าสนาม F1 ความยาว 5.7 กิโลเมตร ที่สามารถใช้ความเร็วได้สูงสุดเต็มกำลังของเครื่องยนต์ ทำให้บริษัทฯ รถยนต์ทั่วโลกพยายามส่งรถยนต์ ในสายการผลิตและจำหน่ายในโชว์รูม เข้ามาร่วมรายการแข่งขันเพื่อเป็นโอกาสในการทดสอบประสิทธิภาพของรถ ทั้งขุมพลังของเครื่องยนต์ อัตราเร่ง อัตราทดเกียร์ สปีดต่างๆ ไปจนถึงระบบช่วงล่าง การยึดเกาะถนน และระบบรักษาความปลอดภัยทั้งระบบเบรก และระบบนิรภัยที่ติดตั้งอยู่ในรถ

SPONSORED

อันตรายจากสภาพสนาม ความเข้มข้นของการแข่งขัน ความยากของสนามถือเป็นการท้าทายประสิทธิภาพของรถ นักขับและทีมงานกลายเป็นที่มาของความภาคภูมิใจหากวิ่งเข้าเส้นชัยหรือแม้แต่วิ่งจนจบการแข่งขัน ทำให้สนามนูร์เบอร์กริงเป็นสนามแข่งรถอันดับต้นๆ ของโลกที่ค่ายรถยนต์มักส่งทีมแข่งลงไปประลองความขลัง ไม่เว้นแม้แต่ทีมแข่งจากประเทศไทยอย่าง Toyota Gazoo Racing Team Thailand โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Toyota Motor Thailand ซึ่งในปีนี้ Toyota Team Thailand ส่งรถลงไปทำการแข่งขันในรุ่น SP3 สองคัน (2,000 cc. / 1,800 cc.) โดยมีนักขับระดับแชมป์ของประเทศ ที่ลงทำการแข่งขัน ได้แก่

รถแข่ง Toyota Corolla Altis GR หมายเลข 119 

สุทธิพงศ์ สมิตชาติ (Suttipong S.)
ณัฐวุฒิ เจริญสุขะวัฒนะ (Nattavude C.)
ณัฐพงษ์ ห่อทองคำ (Nattapong H.)
มานัต กุละปาลานนท์ (Manat K.)

รถแข่ง Toyota Corolla Altis GR หมายเลข 120 

กรัณฑ์ ศุภพงษ์ (Grant S.)
เฉิน เจี้ยน หงษ์ (Chen Jian Hong)
Naoki Kawamura
กฤษฏิ์ วสุรัตน์ (Kris V.)

หลังจากขับเคี่ยวนาน 24 ชั่วโมง บนระยะทางกว่า 3,100 กิโลเมตร ทีมไทย วิ่งเข้าเส้นชัยคว้าธงตาหมากรุกในอันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 

อันดับที่ 1 ในรุ่น SP3 รถแข่ง Toyota Corolla Altis GR หมายเลข 119 รวมทั้งหมด 126 รอบ เวลาต่อรอบดีที่สุดคือ Best Laps: 10:08.950

อันดับที่ 2 ในรุ่น SP3 รถแข่ง Toyota Corolla Altis GR หมายเลข 120 รวมทั้งหมด 125 รอบ เวลาต่อรอบดีที่สุดคือ 10:20.214

ชัยชนะในครั้งนี้ ถือเป็นการฉลองครบรอบ 10 ปี ที่ทีมไทยลงทำการแข่งขันในสนาม Nürburgring กับตำแหน่งแชมป์โลกในรุ่น SP3 ถึง 4 ปี ติดต่อกัน ทีมไทยหนึ่งเดียวในรายการ รถแข่ง Corolla Altis GR Sports 2 คัน ในรุ่น SP3 (Super Production 3) สามารถวิ่งได้จำนวนรอบมากสุดกว่าที่เคยทำได้ในทุกปีที่ผ่านมา ในปีนี้มีรถร่วมลงทำการแข่งขันทั้งสิ้น 131 คัน และมีรถที่ไม่สามารถวิ่งจนจบการแข่งขันถึง 43 คัน โดยมีผู้เข้าชมการแข่งขันในสนามมากถึง 235,000 คน.

ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่: https://thaihotnews.info/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *