.css-1wn93q2 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-1wn93q2 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-1wn93q2 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-1wn93q2 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:”;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-1wn93q2 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-1wn93q2 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-1wn93q2 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}.css-1wn93q2 .similar__widget{height:160px;}@media (max-width:991px){.css-1wn93q2 .similar__widget{height:260px;}}

เป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้วที่ยุคของการบินเชิงพาณิชย์ความเร็วเหนือเสียงได้สิ้นสุดลง ด้วยการร่อนลงสู่สนามบินเป็นครั้งสุดท้ายของเครื่องบินคองคอร์ด ในสนามบินทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาอากาศยานแบบซุปเปอร์โซนิกและไฮเปอร์โซนิก ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงไฮโดรเจน พร้อม anti-boom technology และวัสดุลำตัวเครื่องที่ทนทานต่อความร้อน อากาศยานต้นแบบหลายลำ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในเชิงแนวคิดที่สร้างสรรค์ แต่หลายโครงการที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นการเดินทางที่เร็วที่สุดในอนาคตอันใกล้นี้ กลับต้องหยุดชะงัก หรือพบกับความล่าช้าในการพัฒนา จากปัญหาด้านเงินทุน

Destinus บริษัทสตาร์ทอัพที่คิดค้นอากาศยานความเร็วเหนือเสียงของยุโรป กำลังทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องบินโดยสารความเร็วสูงระดับไฮเปอร์โซนิก (อัตราเร็วไฮเปอร์โซนิก หรืออัตราเร็วเหนือเสียงขั้นสูง เป็นหนึ่งในอัตราความเร็วที่เหนือกว่าความเร็วเสียงหลายเท่าตัว) เพื่อบินจากแฟรงก์เฟิร์ตไปยังซิดนีย์ ด้วยเวลาเพียงแค่ 4 ชั่วโมง 30 นาที หรือบินจากเมืองเมมฟิสในสหรัฐอเมริกา ไปยังมหานครดูไบ ภายในเวลาสั้นจู๋แค่ 3 ชั่วโมง 30 นาทีเท่านั้นเอง 

SPONSORED

เครื่องบินต้นแบบของบริษัท Destinus ใช้เชื้อเพลิงพลังงานไฮโดรเจนเป็นแหล่งพลังงานป้อนให้กับเครื่องยนต์เจ็ต ด้วยความเร็วห้าเท่าของเสียงหรือประมาณ 6,400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากทำสำเร็จ จะช่วยลดระยะเวลาการเดินทางระยะไกลให้น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของการเดินทางทางอากาศเชิงพาณิชย์ในปัจจุบัน Destinus มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีทีมวิศวกรประมาณ 120 คนกระจายอยู่ในสเปน ฝรั่งเศส และเยอรมนี Destinus ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2564 และบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็วในการพัฒนาอากาศยานโดยสารความเร็วระดับไฮเปอร์โซนิก เครื่องบินต้นแบบ 2 ลำแรกประสบความสำเร็จในการบินทดสอบอย่างงดงาม และกำลังจะเริ่มทดสอบการบินด้วยพลังงานไฮโดรเจน ในเครื่องบินต้นแบบลำที่สาม (Destinus 3) โดยมีกำหนดที่จะขึ้นทำการบินทดสอบครั้งแรกภายในสิ้นปีนี้

Martina Löfqvist ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ อธิบายรูปแบบและเหตุผลที่ทีมงานหวังว่า เครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงห้าเท่า จะสามารถขึ้นเป็นผู้นำในยุคใหม่ของการเดินทางที่ใช้ความเร็วเหนือเสียงได้ในที่สุด

“มีแนวทางที่แตกต่างกันในการพัฒนาอากาศยานโดยสารความเร็วเหนือเสียง” Löfqvist กล่าว ในขณะที่คู่แข่งอันดับต้นๆ เช่น Boom Supersonic กำลัง “มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาแบบจำลองและความเป็นไปได้ เกี่ยวกับวิธีการทำงานและพยายามทำให้เครื่องบินโดยสารบินได้เร็วขึ้น แต่เรากำลังมุ่งตรงไปยังเที่ยวบินอัตโนมัติโดยปราศจากนักบิน” กลยุทธ์ก็คือ “การพัฒนาเครื่องต้นแบบที่คล้ายโดรน เพื่อทำให้มีขนาดเล็กลง สำหรับทำการวิจัยทางการบินด้วยความเร็วไฮเปอร์โซนิก ก่อนที่จะขยายขนาดให้กลายเป็นเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ ที่ขับเคลื่อนด้วยนักบิน หรือเครื่องบินโดยสารที่ปราศจากนักบินและบินด้วยระบบนักบินกลล้วนๆ”

SPONSORED

ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกของ Destinus เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด มีราคาถูกลงในขั้นตอนของการผลิต สามารถช่วยให้บรรลุความเร็วและการใช้งานในระยะยาวได้ การบินที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เครื่องยนต์ไฮโดรเจนเจ็ต ยังไม่เข้าสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์ แต่บริษัทแอร์บัส กำลังพัฒนาเครื่องยนต์ไอพ่นเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่ถูกระบุว่า จะเริ่มทดสอบการบินในปี 2569

“เราพยายามออกแบบให้อากาศยานมีพิสัยบินไกลมากเป็นพิเศษ” Löfqvist กล่าว “และนั่นคือการบินจากยุโรปไปจนถึงออสเตรเลีย ด้วยความเร็วระดับ Mach 5 (6,125 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) การใช้น้ำมัน Jet A1 (น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่นพาณิชย์) นั่นหมายความว่า อากาศยานโดยสาร จะมีน้ำหนักค่อนข้างมาก ในขณะที่เชื้อเพลิงไฮโดรเจนนั้นเบากว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์เจ็ตในปัจจุบัน” ไฮโดรเจนยังมีความหนาแน่นของพลังงานสูงกว่าน้ำมันอากาศยานแบบดั้งเดิมอีกด้วย เป้าหมายระยะยาว คือ การใช้พลังงานไฮโดรเจนอย่างเต็มที่และปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ในขณะที่การผลิตไฮโดรเจนยังคงขยายตัว แผนระยะสั้น คือ การบินขึ้นด้วยเครื่องบิน Jet A 1 ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงอากาศยานทั่วไป จากนั้นจึงเปลี่ยนมาใช้ไฮโดรนเจน เมื่อมีความเร็วถึงประมาณ Mach 3 (3,675 กิโลเมตร) “เพราะเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจะมีศักยภาพอย่างเต็มที่ เมื่อเครื่องบินจะเข้าสู่ความเร็วเหนือเสียง”

SPONSORED

เครื่องบินต้นแบบของ Destinus เป็นเครื่องบินแบบผสมผสาน ในรูปทรงเวฟไรเดอร์ ซึ่งออกแบบรูปทรงของอากาศยานเพื่อทำการบินด้วยความเร็วเหนือเสียง ในปี ค.ศ. 1950  Löfqvist กล่าวว่า รูปทรงคลาสสิกในปัจจุบัน “ได้รับการศึกษามาเป็นเวลาหลายปีแล้ว” “จุดประสงค์ของมันคือเพื่อให้คุณสามารถบินบนคลื่นกระแทกที่เกิดขึ้นได้ เป็นรูปทรงที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ใช้เชื้อเพลิงน้อยลงในการบิน เพราะลำตัวออกแบบให้มีแรงต้านอากาศน้อยกว่า” เครื่องต้นแบบที่กำลังจะมาถึง นั่นก็คือ Destinus 3 จะบินด้วยความเร็วเหนือเสียงและมีการคาดหวังว่า จะสามารถบินด้วยไฮโดรเจนได้สำเร็จในปี ค.ศ 2024 “นี่เป็นยานพาหนะที่ค่อนข้างใหญ่” Löfqvist กล่าว “มันมีขนาดพอๆ กันกับเครื่องต้นแบบก่อนหน้านี้ ในแง่ของความยาวประมาณ 10 เมตร แต่หนักกว่า 10 เท่า และซับซ้อนกว่าถึง 20 เท่าในด้านโครงสร้างและระบบขับเคลื่อน” ระยะเวลาที่คาดหวังไว้ คือ ภายในปี 2030 บริษัทฯ จะสามารถเปิดตัวเครื่องบินโดยสารขนาดเล็ก ที่บรรจุผู้โดยสารได้ประมาณ 25 คน ซึ่งจะมีข้อจำกัดในแง่ของระยะทางการบิน โดยมุ่งไปที่ลูกค้าชั้นธุรกิจเท่านั้น ภายในปี 2040 เครื่องบินรุ่นใหม่จะขยายขนาดเต็มรูปแบบ และมีชั้นประหยัดรวมอยู่ด้วย เมื่อถึงเวลานั้น ราคาเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจะลดลงอย่างมาก เพื่อที่จะสามารถลดราคาต่อเที่ยวบินได้อย่างมากเช่นกัน สำหรับเที่ยวบินระยะไกลพิเศษเหล่านี้”

SPONSORED

เมื่อเดือนที่แล้ว Destinus เข้าซื้อกิจการบริษัท OPRA ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งปัจจุบันใช้ชื่อว่า Destinus Energy Löfqvist กล่าวว่า “นั่นหมายความว่าเราสามารถมีรายได้แล้วในปีนี้ เพราะ OPRA มีกังหันก๊าซที่สร้างและขายไปแล้ว ตอนนี้เราไม่ได้มีแค่ด้านการบินและอวกาศของเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงเท่านั้น แต่ยังมีแหล่งพลังงานภายในบริษัทอีกด้วย”

นอกเหนือจากการลงทุนภาคเอกชนและเงินทุนสาธารณะที่ได้รับแล้ว ในเดือนเมษายน 2023 บริษัทฯ ได้รับทุนสนับสนุนมูลค่า 26.7 ล้านยูโร (29.4 ล้านเหรียญสหรัฐ) จากรัฐบาลสเปน เพื่อขยายขีดความสามารถในการขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงไฮโดรเจน บริษัท Destinus หวังว่า รายได้เพิ่มเติมนี้ จะช่วยให้สามารถเอาชนะความท้าทายดังกล่าว ได้เห็นโครงการเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงและยานพาหนะความเร็วเหนือเสียงแบบอื่น

Aerion ซึ่งตั้งอยู่ที่เนวาดาซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญในการแข่งขันเพื่อสร้างเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงเป็นลำแรก พังทลายลงในเดือนพฤษภาคม 2564 โดยประกาศว่า ในสภาพแวดล้อมทางการเงินในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมาก จากความต้องการเงินทุนจำนวนมหาศาลในการพัฒนา

การบินด้วยเครื่องบินไอพ่นที่มีความเร็วเหนือเสียง 5 เท่า ภายในปี 2040 คุณสามารถรับประทานอาหารเช้าในเซี่ยงไฮ้ และบินดิ่งไปประชุมงานต่อที่เซาเปาโลหลังอาหารกลางวัน ด้วยความฝันที่จะไปให้เร็วกว่าเดิมหลายเท่า Destinus อาจมีอุปสรรคทางเทคโนโลยี และเงินงบประมาณที่จะต้องใช้จ่ายอย่างมหาศาล เพื่อทำให้ความฝันนี้กลายเป็นความจริง. 

ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่: https://thaihotnews.info/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *