
การหลบหนีจากเครื่องบินที่ไม่สามารถควบคุมได้อีกต่อไป ระบบดีดตัวของ SR-71 เครื่องบินจารกรรมความเร็วเหนือเสียงสามเท่า จะต้องมีความพิเศษและทำงานได้อย่างไร้ข้อผิดพลาด! ที่นั่งดีดตัวใน SR-71 ถูกออกแบบให้ใช้งานได้ตั้งแต่ความเร็ว และระดับความสูงเป็นศูนย์ ไปจนถึงความเร็วและระดับความสูงในเพดานบินสูงสุดของเครื่อง ที่มัค 3.45+ และความสูงเกือบ 100,000 ฟุต ที่นั่งดีดตัวในยุคนั้น (1970) เป็นแบบขับเคลื่อนด้วยจรวด เพื่อดีดตัวขึ้นจากเครื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้อีกต่อไป คนส่วนใหญ่เชื่อว่า การดีดตัวออกจากเครื่องบิน ด้วยความเร็ว 2,000 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือมากกว่า 3,500 กิโลเมตร จะทำให้ร่างกายของนักบินแยกออกจากกัน อย่างไรก็ตาม อากาศเบาบางมาก ที่ระดับความสูง 80,000+ ฟุต หรือ 26,517.6 เมตร สูงกว่า 26 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก ซึ่งแรง “q” ที่เกิดขึ้นจริง (แรง g ที่ชะลอความเร็ว) เมื่อร่างกายของนักบิน กระทบกับกระแสลมนั้นมีความรุนแรงน้อยกว่าการพุ่งออกจากเครื่องบินฝึก T-38 ที่ความเร็ว 500 ไมล์ต่อชั่วโมง (800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในระดับความสูง 3,000 เมตรมากนัก ชุดปรับความดันอากาศที่คล้ายกับชุดของนักบินอวกาศ มีความหนาของฉนวนป้องกันมากถึง 7 ชั้น ผลิตโดย David Clark ออกแบบมาเพื่อดูดซับแรงขณะที่นักบินต้องดีดตัวออกจากเครื่องที่ความเร็วสูงกว่า 3 เท่าของความเร็วเสียง กลไกของระบบผดุงชีพ จะรักษาแรงดันหรือความกดอากาศภายในชุด เพื่อให้นักบินรอดชีวิตระหว่างร่อนลงสู่พื้นพร้อมร่มชูชีพ การดีดตัวออกจาก SR-71 นักบินต้องเอื้อมมือไปจับที่ดีดตัว ซึ่งติดตั้งอยู่ระหว่างเข่า โดยเอามือทั้งสองข้างไขว้กัน แล้วดึง D-ring ขนาดใหญ่ของที่นั่งขึ้นอย่างรวดเร็ว การออกแบบในลักษณะดังกล่าว เพื่อให้แขนของนักบินกระชับกับร่างกาย นักบินและลูกเรือของ SR-71 จะได้รับการเทรนให้จับ D-ring เพื่อดีดตัวออกขณะที่ที่นั่งนักบินพุ่งออกจากตัวเครื่องด้วยแรงขับดันของจรวดเชื้อเพลิงเหลว
SPONSORED


หลังจากดึง D-ring ฝาครอบห้องนักบินจะถูกดีดออกจากตัวเครื่องด้วยแรงกดอากาศและความเร็ว แตกต่างจากเครื่องบินเจ็ตสมรรถนะสูงส่วนใหญ่ที่มีที่นั่งดีดออกที่จะสลัดฝาครอบ หรือดีดตัวทะลุฝาครอบด้วยโครงที่นั่งที่ช่วยป้องกันศีรษะของนักบิน ส่วนนักบินของเครื่องบินจารกรรมความเร็วสูง ไม่สามารถดีดตัวออกทะลุฝาครอบของเครื่อง SR-71 ได้ หลังจากใช้แรงดึงบนวงแหวน D หลังคาจะปลดล็อกและถูกขับดันออกจากตัวเครื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้นักบินดีดตัวแล้วชนเข้ากับฝาครอบห้องนักบิน SR-71 มีอุปกรณ์อินเตอร์ล็อกที่จะไม่ยอมให้เก้าอี้นักบินดีดออก จนกว่าจะปลดพนักพิงออกก่อน หลังจากดึงแหวนตัว D ขั้นตอนต่อไปก็คือ เอื้อมมือไปทางด้านซ้ายของที่นั่ง แล้วดึงที่จับรูปตัว T ของกระโจมฝาครอบห้องนักบินสีเหลือง ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งในการถอดผืนฝาครอบออก หากทำตามขั้นตอนนั้นแล้วฝาครอบห้องนักบินยังไม่หลุด นักบินจะต้องจับคันโยกเพื่อปลดล็อกฝาครอบด้วยตนเอง และหวังว่าแรงดันภายในห้องนักบินจะดันฝาครอบห้องนักบินให้หลุดออกไปเอง

ในกรณีที่ D-ring ระหว่างหัวเข่าของนักบินไม่ทำงาน นักบินยังสามารถดึงที่จับตัว T ซึ่งเป็นอุปกรณ์ดีดตัวชุดที่สอง ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายเพื่อเริ่มต้นขั้นตอนการดีดออก อย่างไรก็ตาม นักบินต้องดึง D-ring ก่อน เพื่อให้ T-handle ทำงานได้ เมื่อใช้ที่จับตัว T ที่สอง ระบบจรวดขับดันในเก้าอี้นักบินจะทำงานทันทีโดยไม่คำนึงถึงว่าฝาครอบเปิดออกแล้วหรือไม่ เหตุการณ์ดังกล่าวอาจทำให้นักบินได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงจนถึงกับเสียชีวิต ยกเว้นไฟสีแดงดวงเล็กๆ บนแผงหน้าปัดของ RSO ที่สว่างขึ้นพร้อมกับวลีสั้นๆ แต่ดึงดูดความสนใจว่า “PILOT EJECTED” เมื่อนักบินดีดตัวออกมา ลำดับการดีดตัวของนักบินที่ด้านหน้าและด้านหลัง จะเป็นอิสระจากกัน

SPONSORED
หลังจากดึง D-ring มีการหน่วงเวลา 0.3 วินาที ในการสลัดฝาครอบห้องนักบินออกจากตัวเครื่อง จากนั้น ระบบจะปล่อยก๊าซเพื่อเริ่มขั้นตอนการดีดที่นั่งออกจากห้องนักบิน สายโกลนที่ติดอยู่กับส้นรองเท้าบู๊ตจะดึงขากลับไปที่ด้านหน้าของที่นั่งดีดตัว การออกแบบในลักษณะดังกล่าว เพื่อป้องกันอุบัติเหตุกับขาของนักบิน ในขณะที่ที่นั่งถูกดีดออกจากห้องนักบิน การทำงานมีระยะเวลาเพียงแค่ 0.15 วินาที เพียงพอที่จะยกที่นั่งให้สูงขึ้น เมื่อถึงจุดนั้น เชือกเส้นเล็กที่ติดอยู่กับพื้นห้องนักบินจะถูกดึงออก ทำให้มอเตอร์จรวดของที่นั่งเริ่นต้นการจุดระเบิด มอเตอร์ของจรวดให้แรงขับและระยะเวลาที่เพียงพอ (0.5 วินาที) ในการดีดที่นั่งออกประมาณ 300 ฟุตเหนือตัวเครื่อง

แม้ว่าที่นั่งดีดออกจะได้รับการรับรองความสามารถจาก 0 ไปจนถึงความเร็วและระดับความสูงที่มากที่สุด แต่โอกาสที่จะดีดตัวได้สำเร็จ จะเพิ่มขึ้นตามระดับความสูงและความเร็วของเครื่องบิน ซึ่งทำให้ร่มชูชีพมีเวลามากพอในการกางออกอย่างเต็มที่ ร่มชูชีพได้รวมกระบอกยิงกระสุนโลหะ ขนาด .75 ปอนด์ กระสุนโลหะแข็งที่ติดอยู่กับร่มชูชีพซึ่งถูกยิงโดยกระบอกยิง จะดึงร่มชูชีพขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 35 ฟุตเข้าไปในกระแสลม เพื่อให้กางออกทันที ระบบร่มพยุงชีพออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ร่มเปิดออกอย่างกะทันหันและฉีกขาดเนื่องจากความเร็วเกินขีดจำกัดของวัสดุที่ใช้ทำร่ม (ไนลอน)
SPONSORED



SPONSORED
ในการดีดตัวออกจากระดับความสูงต่ำ (ต่ำกว่า 15,000 ฟุต) ตัวเริ่มต้นที่ทำงานด้วยแรงดัน (แอนรอยด์) จะตัดสายดึงเท้าของนักบินออก โดยใช้ตัวตัดที่ระเบิดสายดึงได้ นักบินจะปลดเข็มขัดนิรภัยคาดเอวและสายรัดไหล่ออก การดีดตัวออกจากระดับความสูง กว่า 15,000 ฟุ นักบินยังคงถูกล็อกไว้กับที่นั่งระหว่างการตก ลงสู่ระดับ 15,000 ฟุตอย่างอิสระ หากดีดตัวออกจากระดับความสูงที่สูงกว่า 80,000+ ฟุต ชุดควบคุมแรงดันจะพองตัวทันที ผ่านตัวควบคุมชุดแอนรอยด์ ออกซิเจนฉุกเฉินจะถูกจ่ายจากกระบอกที่ติดตั้งอยู่ในเบาะนั่ง แบตเตอรี่จะทำความร้อนที่แผ่นปิดหน้าอกของชุด เพื่อเพิ่มอุณหภูมิในระดับความสูงที่มีอุณหภูมิติดลบ รางเลื่อนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.5 ฟุต ที่มั่นคงซึ่งติดอยู่ที่ด้านบนของที่นั่งดีดออกช่วยป้องกันไม่ให้ที่นั่ง (และนักบิน) ร่วงหล่นระหว่างการตกอย่างอิสระเป็นเวลานานประมาณ 7 นาที ลงไปที่ระดับความสูงประมาณ 15,000 ฟุต เมื่ออยู่ต่ำกว่า 14,900 ฟุต นักบินจะต้องปลดเข็มขัดนิรภัยออกจากที่นั่ง หลังจากนั้นระบบร่มชูชีพก็จะเริ่มขั้นตอนการทำงาน ชุดอุปกรณ์ยังชีพ พร้อมเป้ใส่อุปกรณ์ยังชีพและแพชูชีพ หากนักบินหรือนักบินผู้ช่วย ตกลงไปในทะเล เครื่องช่วยชีวิตที่ติดอยู่จะเริ่มต้นการทำงานโดยอัตโนมัติ

ช่วงบ่ายของวันที่ 25 มกราคม 1966 จิม ซาวเยอร์ วิศวกรการบินและผู้เชี่ยวชาญการบินทดสอบของบริษัทลอคฮีดกับนักบินลองเครื่อง บิล วีเวอร์ ทำการทดสอบระบบบังคับการบินของเครื่องบินล่องหนแบบ SR-71 Blackbird โดยทำการบินขึ้นจากฐานทัพิอากาศเอดเวิร์ด นักบิน บิล วีเวอร์ และวิศวกร จิม ซาวเยอร์ ต้องทดสอบวิธีปฏิบัติที่ออกแบบมาเพื่อลดแรงต้านของแผ่นปรับ Trim tab รวมถึงจดบันทึกลักษณะท่าทางการบิน ขณะบินทำความเร็วสูงสุดของเจ้าวิหคดำ การทดสอบและบันทึกท่าทางต่างๆ ที่ตัวเครื่องแสดงออกมาระหว่างที่บินด้วยความเร็วกว่า 3,900 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นการปรับจุดศูนย์ถ่วงของตัวเครื่องหรือปรับค่า CG ที่เลื่อนลงมาอยู่ด้านหลัง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของเครื่องบินความที่บินด้วยความเร็วเหนือเสียงสามเท่าแบบเจ้า SR-71 การบินทดสอบดังกล่าวยังเป็นการทดสอบความเสถียรของส่วนหัว หรือ Longitudinal Stability อีกด้วย

ทั้งคู่วิ่งขึ้นจากฐานทัพอากาศเอดเวิร์ดเมื่อเวลา 11.20 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยทำการบินทดสอบจนเสร็จสิ้นภารกิจแรกเรียบร้อยโดยไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น หลังจากทำการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศจาก Boeing KC-135 เครื่องบินบรรทุกเชื้อเพลิงของกองทัพอากาศอเมริกัน เจ้า SR-71 เลี้ยวไปทางทิศตะวันออก พร้อมๆไปกับการเร่งความเร็วไปที่ระดับ 3.2 มัค หัวของเครื่องเชิดขึ้นเล็กน้อยเพื่อทำการไต่ระดับความสูงไปที่ระยะสูง 78,000 ฟุต ซึ่งเป็นระดับความสูงแรกของการทดสอบการบินด้วยความเร็วสูงสุด เมื่อขึ้นมาถึงความสูงที่ต้องการ และนักบิน บิล วีเวอร์ ทำการบินระดับผ่านไปแล้วหลายนาที ระบบอัตโนมัติซึ่งมีหน้าที่บังคับอากาศให้ไหลเข้าไปที่เครื่องยนต์ด้านขวาทำงานผิดพลาดจากสัญญาณไฟแจ้งเตือน นักบินเปลี่ยนมาเป็นการบังคับด้วยมือแทนระบบอัตโนมัติ รูปทรงของท่อรับอากาศเข้าจะปรับตัวเองโดยอัตโนมัติ ขณะบินด้วยความเร็วเหนือเสียงเพื่อลดความเร็วของอากาศที่ไหลเข้าไปยังเครื่องยนต์ ให้ลดความเร็วจนมีค่าต่ำกว่าความเร็วเสียงก่อนที่จะถูกประจุอัดและเผาไหม้ ทั้งนี้ ตัวรับอากาศจะเคลื่อนไปทางด้านหลัง และการปรับตัวของช่องรับอากาศเข้าทางด้านหน้า

โดยปกติ การทำงานทั้งหมดของท่อรับอากาศเข้าจะทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ ตามจำนวนตัวเลขความเร็วที่บินในขณะนั้นๆ ท่อรับอากาศยังมีการกำหนดจุดกระแทกของคลื่นกระแทกปกติหรือ Normal Shock Wave เมื่อความเร็วของอากาศที่ไหลเข้าท่อรับมีความเร็วต่ำกว่าความเร็วเสียงภายในช่องรับอากาศ เพื่อทำให้เครื่องยนต์มีสมรรถนะสูงสุดอยู่ตลอดเวลาขณะทำการบิน หากระบบดังกล่าวทำงานผิดพลาด การรบกวนภายในช่องรับอากาศของกระแสลมความเร็วสูงที่ไหลเข้าไปยังท่อรับ อาจส่งผลให้คลื่นกระแทกนี้ถูกผลักดันออกไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่นักบินรู้จักกันดีในชื่อ Inlet unstart และเมื่อมันเกิดขึ้น มันจะทำให้เครื่องยนต์สูญเสียแรงดันอย่างฉับพลันทันที เกิดเสียงระเบิดถี่ๆ เครื่องบินมีอาการเกิดแรงเหวี่ยงอย่างรุนแรง ปรากฏการณ์ Inlet unstart ไม่ใช่สิ่งที่ผิดปกติสำหรับอากาศยานที่บินด้วยความเร็วสูงแบบ SR-71เมื่อระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างถูกต้อง ระบบจะทำการจัดการกับคลื่นกระแทกโดยเข้ามาทำให้เครื่องยนต์กลับมาทำงานปกติต่อไป

ตามแผนการบินที่ทั้งคู่ได้กำหนดเอาไว้ก่อนทำการขึ้นบิน โดย บิล วีเวอร์ นักบินทดสอบจะทำการเลี้ยวขวาด้วยมุมเอียง 35 องศา ขณะทำการเลี้ยว เครื่อง SR-71 เกิดอาการ unstart ขึ้นทันทีทันใด กับเครื่องยนต์ที่ด้านขวา ทำให้เครื่องบินเอียงขวามากยิ่งขึ้นและเริ่มเชิดหัวขึ้น นักบินผลักคันบังคับไปที่ตำแหน่งซ้ายสุดพร้อมๆ ไปกับการกดคันบังคับไปที่ด้านหน้าแต่ไม่เกิดอะไรขึ้น ที่ความเร็ว 3.2 มัค กับระยะสูง 78,000 ฟุต แรงจีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกระทำกับตัวเครื่องและนักบินทดสอบทั้งสองนาย บิล วีเวอร์ พยายามวิทยุบอกกับ จิมซาวเยอร์ แต่แรงจีมหาศาลทำให้เสียงพูดในวิทยุที่เขาพยายามสื่อสารไปยังนักบินที่สองไร้ผล เนื่องจากความเร็วขั้นยิ่งยวดประมาณ 3,400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่เกิดแรงจีเข้ามากระทำกับร่างกายของนักบิน จะทำให้เสียงพูดไม่สามารถจับใจความได้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของระบบควบคุมอากาศไหลเข้าที่ท่อรับ ทำให้ตัวเครื่องขาดความเสถียรที่ส่วนหัว มุมปะทะของอากาศที่เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยวที่ความเร็วเหนือเสียงสามเท่า และที่ระยะสูงมากกว่าเครื่องบินทุกชนิดจะบินถึง ส่งผลให้เจ้าวิหคดำตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก โครงสร้างของตัวเครื่องที่โดนแรงจีฉีกกระชาก เกินขีดความสามารถของระบบควบคุมการบินที่ออกแบบโดยมันสมองของมนุษย์จะเข้ามาแก้ไขได้ เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นเร็วเพียงแค่ 2-4 วินาทีเท่านั้น หลังจากเสี้ยววินาทีที่มันเกิดขึ้น เครื่องบินจารกรรมที่มีเทคโนโลยีทางการบินล้ำสมัยมากในยุคนั้นก็เริ่มฉีกออกเป็นชิ้นๆ จากแรงที่เข้ามากระทำในทุกทิศทุกทาง บวกความเร็วและระยะสูง

นักบินที่หนึ่ง บิล วีเวอร์ หลุดกระเด็นออกจากซากเครื่องที่ระยะสูงเกือบๆ 60,000 ฟุต ด้วยความเร็วที่ดีดออกมาในระดับใกล้กับความเร็วเสียง โดยไม่มีโอกาสได้ใช้ระบบดีดตัวฉุกเฉิน ชุดบินปรับแรงดันของนักบินในเครื่อง SR-71 มีลักษณะคล้ายกับชุดของนักบินอวกาศ เนื่องจากระดับความสูงและความเร็วที่เครื่องบินชนิดนี้สามารถทำได้ ทำให้ชุดบินต้านแรงจีแบบปกติของนักบินขับไล่ ไม่สามารถนำมาใช้ขึ้นบินกับเครื่อง SR-71 ได้เลย จากปัญหาด้านความทนทานและการปกป้องนักบินในสภาพการที่มีความสุดขั้วแบบนี้ ชุดบินปรับแรงดันของ บิล วีเวอร์ มีความหนาถึง 7 ชั้น ซึ่งมีกระบอกออกซิเจนอยู่ใต้ที่นั่งยึดติดกับร่มชูชีพนิรภัย ชุดนักบินที่คล้ายกับนักบินอวกาศ ทำงานเป็นปกติที่ความเร็วและความสูงอันน่าสะพึงกลัว ยังไม่เคยมีมนุษย์คนใด ดีดตัวเองออกมาจากอากาศยานในระดับความสูงด้วยความเร็วแบบนั้นมาก่อน กระบอกออกซิเจนไม่เพียงแต่จ่ายอากาศให้กับชุดบิน มันยังปรับแรงดันให้สามารถพยุงชีวิตของมนุษย์จากระดับพื้นดินถึงความสูงของตำแหน่งดีดตัวประมาณ 18 กิโลเมตรจากพื้น ด้วยความเร็วเกือบๆ 1,400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ชุดบินปรับแรงดันอัตโนมัติของนักบินในเครื่อง SR-71 ทำการปรับแรงดันเพื่อไม่ให้เลือดของนักบินเดือดพล่านจากการอยู่ที่ระยะสูงมากๆ วัสดุที่ใช้ทำชุดบินของ SR-71 เหมือนกับชุดของนักบินอวกาศทั้งขนาด อุปกรณ์และระบบพยุงชีพ แถมยังแข็งแกร่งมากพอที่จะต้านทานแรงฉีกขาด จากกระแสลมความเร็วสูงที่เกิดขึ้นในขณะที่ทำการดีดตัว

ระบบดีดตัวของเครื่อง SR-71 มีร่มชูชีพที่ออกแบบมาเป็นพิเศษให้ทำการยิงร่มเล็กเพื่อช่วยในการพยุงตัวนักบินหลังจากที่แยกตัวออกมาจากเก้าอี้แล้ว ร่มเล็กนอกจากจะช่วยในการพยุงตัวแล้ว มันยังช่วยชะลอความเร็วร่วงหล่นอีกด้วยคล้ายการทำงานของเบรกอากาศขนาดเล็ก ส่วนร่มชูชีพหลัก ถูกตั้งให้กางออกแบบอัตโนมัติที่ระยะสูง 15,000 ฟุต นักบิน บิล วีเวอร์ ตกลงมาพร้อมๆ กับการทำงานที่ถูกต้องของเก้าอี้ดีดตัวและระบบร่มผดุงชีพ ทำให้รอดพ้นความตายไปได้อย่างฉิวเฉียด 15.00 น. นักบินที่หนึ่งก็กระทบพื้นดินด้วยความนิ่มนวลจากร่มชูชีพ ตำแหน่งที่เครื่องตกคือไร่ปศุสัตว์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐนิวเม็กซิโก หลังจากการช่วยเหลือ บิล วีเวอร์ ได้รับข่าวร้ายจากเจ้าหน้าที่ว่า วิศวกรการบิน จิม ซาวเยอร์ เสียชีวิตในซากเครื่องบริเวณตำแหน่งที่นั่งด้านหลังส่วนหัว เนื่องจากคอหัก ขณะที่ตัวเครื่องแยกออกเป็นเสี่ยงๆ ด้วยแรงมหาศาลจากความเร็วในการทดสอบการบินครั้งนี้

วันต่อมามีการจำลองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบน SR-71 ลำทดสอบ ด้วยเครื่องจำลองการฝึกบิน ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลของกล่องบันทึกข้อมูลทางการบิน ที่ฐานทัพอากาศในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งได้ผลออกมาเหมือนกันทั้งหมด หลังจากนั้นจึงมีการดำเนินการทันทีเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นกับ SR-71 ในเที่ยวบินต่อๆไป การทดสอบจุดศูนย์ถ่วงของเครื่องบินถูกยกเลิก ชิ้นส่วนของแผ่นปรับอากาศเข้าท่อรับถูกแก้ไขด้วยวิธีที่ทางหลักของอากาศพลศาสตร์ และด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของระบบนักบินกลแบบดิจิทัล หรือ Digital Automatic Flight ระบบควบคุมอากาศเข้าเครื่องยนต์ เหตุการณ์อากาศความเร็วเหนือเสียงไหลเข้าเครื่องยนต์จึงลดลงไป

จากการสืบสวน ส่วนหัวของ SR-71 หลุดออกจากลำตัวตรงบริเวณช่วงที่นั่งด้านหลัง ชิ้นส่วนดังกล่าวตกลงห่างจากชิ้นส่วนที่เหลือไกล 10 ไมล์ ชิ้นส่วนทั้งหมดของตัวเครื่องกระจัดกระจายในรัศมี 10 ไมล์ แรงจีที่เกิดขึ้นอย่างมากมายมหาศาลได้กระชากนักบินทดสอบและวิศวกรการบินให้หลุดออกไปจากตัวเครื่อง ด้วยความเร็วที่ยากจะคาดเดาว่ามันเกินขึ้นได้อย่างไรกับเครื่องบินที่มีระบบควบคุมการบินก้าวไกลมากที่สุดในยุคนั้น
มกราคม 1965 นักบินทดสอบ Bill Weaver ที่ถูกโยนออกจาก SR 71 กล่าวว่า การตกลงมาอย่างอิสระจากความสูง 78,000 ฟุตนั้นน่ากลัวพอสมควร แต่การตกโดยมีน้ำแข็งคลุมหมวกนิรภัยซึ่งคุณมองไม่เห็นเลยนั้นน่ากลัวมากกว่า หลังจากนั้นไม่นานก็มีการอัปเกรดหมวกบินใหม่ “กระบังหน้าหลักในหมวกบินบางรุ่นมีการเคลือบทองคำบางๆ ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำไหลผ่าน นั่นทำให้ไม่เกิดฝ้าและกลายเป็นน้ำแข็ง ทองคำยังช่วยปกป้องนักบินจากรังสี UV และใช้งานได้ดีกับฟิล์มป้องกันรังสี กระจกของหมวกบินมีลวดบางๆ ฝังอยู่ในนั้น คล้ายกับการทำงานของที่ไล่ฝ้าที่กระจกหลัง
SR-71 บินขึ้นจากฐานทัพอากาศ Edwards ในเที่ยวบินทดสอบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบวิธีการลดแรงต้านของทริม ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการบินด้วยความเร็วสูงสุด
หลังจากขั้นตอนแรกของภารกิจเสร็จสิ้น นักบินได้ดำเนินการเติมน้ำมันในเที่ยวบินตามปกติจากเครื่องบินบรรทุกน้ำมัน KC-135 และไต่ขึ้นไปที่ความสูง 78,000 ฟุตเพื่อดำเนินการทดสอบต่อไป
ณ จุดนี้ เมื่อ SR-71 แล่นด้วยความเร็ว 3.18 มัค ระบบควบคุมทางเข้าอัตโนมัติของเครื่องยนต์ขวามือทำงานผิดปกติ และนักบินเลือกการควบคุมด้วยตนเองและเริ่มเลี้ยวไปทางขวาที่มุมเอียง 35 องศา จากนั้น เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “การสตาร์ตเครื่องยนต์เข้าไม่ได้” เกิดขึ้นที่เครื่องยนต์ RH ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานทัน และยกจมูกของเครื่องบินขึ้น ทำให้มุมเลี้ยวชันขึ้น นักบินพยายามที่จะกลับสู่แนวตรง แต่เครื่องบินสูญเสียการควบคุมในชั่วพริบตาก็แตกเป็นชิ้นๆ ในอากาศ ที่ระดับความสูง 78,800 ฟุต
SR-71 Blackbird เป็นเครื่องบินที่พัฒนาขึ้นมาจาก Lockheed YF-12 A ทำการบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1962 ในทะเลทรายเนวาดา YF-12 เริ่มพัฒนาเป็น SR-71 ในปี ค.ศ. 1963 เป็นเครื่องบินความเร็วระดับ 3 มัค เริ่มทำสถิติโลกเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1965 SR-71 เป็นเครื่องบินเจ็ตตรวจการณ์ทางยุทธศาสตร์ ใช้งานในกองทัพอากาศสหรัฐฯ และองค์การนาซา และได้รับสมญานามว่า Blackbird

ผู้สร้าง บริษัท Lockheed Aircraft Service (สหรัฐอเมริกา)
ประเภท เจ็ตตรวจการณ์ทางยุทธศาสตร์ 2 ที่นั่งเรียงกัน
เครื่องยนต์ เทอร์โบเจ็ต แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เจที 11 ดี 20 บี ให้แรงขับสถิตเครื่องละ 10,430 กิโลกรัม และ 14,740 กิโลกรัม เมื่อใช้สันดาปท้าย 2 เครื่อง
กางปีก 16.95 เมตร
ยาว 32.74 เมตร
สูง 5.64 เมตร
น้ำหนักเปล่า 27,215 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้น 77,110 กิโลกรัม
อัตราเร็วสูงสุด กว่า 3 มัค (3,220 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
พิสัยบิน 4,800 กิโลเมตร โดยไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
เพดานบิน กว่า 30,488 เมตร
บินทน 1 ชั่วโมง 30 นาที
อาวุธ ไม่ติดอาวุธ
เอกสารอ้างอิง ข้อมูลประกอบการเขียนจาก
TANGO No.229
อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail [email protected]
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
https://www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-525369247505358/
ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่: https://thaihotnews.info/