เมื่อวันอังคารที่ 18 ตุลาคม และวันพุธที่ 19 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม ประกอบพิธีเจิมเครื่องบิน Boeing 777-300ER นามพระราชทาน “อลงกรณ์” (ALONGKORN) และ “ศรีมงคล” (SIMONGKHON) โดยมี นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ และนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ ฝ่ายบริหารของบริษัทฯ และแขกผู้มีเกียรติร่วมในพิธี ณ โรงซ่อมอากาศยาน (Hangar) สายช่าง การบินไทย สุวรรณภูมิ และมีกำหนดจัดพิธี เจิมเครื่องบิน Boeing 777-300ER อีก 1 ลำ “เทพราช” (THEPARAT) ในวันที่ 26 ตุลาคม ศกนี้

.css-1b3yg0y #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-1b3yg0y .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-1b3yg0y .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-1b3yg0y .forum2022-logoSponsor-text::after{content:”;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-1b3yg0y ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-1b3yg0y ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-1b3yg0y ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}

ป้าม่วงสู้ๆ! การบินไทยเสริมแกร่งฝูงบิน BOEING 777-300ER รองรับ Demand โตต่อเนื่อง
ป้าม่วงสู้ๆ! การบินไทยเสริมแกร่งฝูงบิน BOEING 777-300ER รองรับ Demand โตต่อเนื่อง

SPONSORED

ป้าม่วงสู้ๆ! การบินไทยเสริมแกร่งฝูงบิน BOEING 777-300ER รองรับ Demand โตต่อเนื่อง

เครื่องบิน Boeing 777-300ER ทั้ง 3 ลำใหม่ข้างต้นเข้าประจำการในฝูงบินของบริษัทในปี 2565 นี้ เป็นเครื่องบินพิสัยไกลที่มีประสิทธิภาพสูง ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้รับพัฒนาการตกแต่งภายในห้องโดยสารในแต่ละชั้นบริการให้มีความสะดวกสบายและทันสมัย อีกทั้งยังเป็นเครื่องบินที่ประหยัดน้ำมัน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยังได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องบินที่มีความปลอดภัยที่สุดรุ่นหนึ่งในปัจจุบันให้บริการในเส้นทางจากกรุงเทพฯ ไปยังจุดบินต่างๆ ได้แก่ ลอนดอน โตเกียว (นาริตะ) และโอซากา

ป้าม่วงสู้ๆ! การบินไทยเสริมแกร่งฝูงบิน BOEING 777-300ER รองรับ Demand โตต่อเนื่อง
ป้าม่วงสู้ๆ! การบินไทยเสริมแกร่งฝูงบิน BOEING 777-300ER รองรับ Demand โตต่อเนื่อง

เครื่องบินแบบโบอิ้ง 777-300ER ทั้ง 3 ลำ ให้บริการ 3 ชั้นโดยสาร ได้แก่ ชั้นหนึ่ง 8 ที่นั่ง ชั้นธุรกิจ ที่สามารถปรับเก้าอี้เอนนอนราบได้ 180 องศา 40 ที่นั่ง และชั้นประหยัด 255 ที่นั่ง มีการออกแบบการใช้พื้นที่ภายในอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการเก็บสัมภาระของผู้โดยสารและเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น พร้อมระบบสาระบันเทิงรุ่นใหม่ล่าสุด Panasonic EX3 หน้าจอ full HD ที่ให้ความคมชัดและหน้าจอที่ใหญ่ขึ้น พร้อมทั้ง USB port ที่สามารถชาร์จ iPad ได้ มีระบบ Wi-Fi เพื่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วกว่าเดิม ด้วยระบบ KU band

ป้าม่วงสู้ๆ! การบินไทยเสริมแกร่งฝูงบิน BOEING 777-300ER รองรับ Demand โตต่อเนื่อง

SPONSORED

ป้าม่วงสู้ๆ! การบินไทยเสริมแกร่งฝูงบิน BOEING 777-300ER รองรับ Demand โตต่อเนื่อง

นอกจากนี้ การบินไทยได้ทยอยนำเครื่องบินของบริษัท Airbus A330-300 ซึ่งให้บริการที่นั่งในชั้นธุรกิจแบบปรับเอนนอนราบ (Flat Bed) จำนวน 3 ลำ กลับเข้ามาให้บริการในเส้นทางฟุกุโอกะ และโตเกียว (ฮาเนดะ) ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป รวมถึงเครื่องบิน Boeing 777-200ER จำนวน 2 ลำ มาให้บริการเพิ่มเติมในเส้นทางมุมไบ จาการ์ตา และเดนปาซาร์ จากที่ได้นำเครื่องบิน Boeing 777-200ER ดังกล่าวจำนวน 4 ลำ กลับมาให้บริการในเส้นทางประเทศอินเดียตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เป็นต้นมา เพื่อรองรับความต้องการเดินทางที่เติบโตอย่างต่อเนื่องใน 9 เดือนแรกของปี 2565 อันเป็นผลจากการผ่อนคลายและยกเลิกมาตรการควบคุมและจำกัดการเดินทางของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ส่งผลให้อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) ของบริษัทในช่วง 10 วันแรกของเดือนตุลาคม 2565 ปรับตัวขึ้นมาอยู่ในระดับ 80% มีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 17,554 คน/วัน จาก 2,092 คน/วัน ในเดือนมกราคม 2565 และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในช่วงฤดูท่องเที่ยวในไตรมาสที่ 4 ของปี ไปจนถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 โดยบริษัทฯ มีความมั่นใจว่าจะสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้โดยสาร และบรรลุเป้าหมายรายได้ที่กำหนดไว้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ

SPONSORED

ป้าม่วงสู้ๆ! การบินไทยเสริมแกร่งฝูงบิน BOEING 777-300ER รองรับ Demand โตต่อเนื่อง

เครื่องบินโดยสารสองเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพด้านการบินระยะไกลและการใช้เชื้อเพลิง Boeing 777 เป็นเครื่องบินโดยสารแบบสองเครื่องยนต์ลำตัวกว้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เครื่อง 777-300ER ได้รับการพัฒนามาเพื่อการบินเดินทางระยะไกล จากการออกแบบโครงสร้างและขั้นตอนต่างๆ ของงานดีไซน์ผ่านคอมพิวเตอร์ในทุกขั้นตอน ระบบบินแบบ Fly by Wire เป็นรุ่นแรกของบริษัท Boeing โดยมีพิสัยบิน หรือระยะบินทั้งแบบปานกลางและไกล รองรับจำนวนผู้โดยสารได้มากถึง 315-550 ที่นั่ง ปัจจุบัน เครื่อง Boeing 777 มีรุ่นแยกย่อยถึง 6 รุ่น คอยให้บริการการเดินทางทางอากาศทั่วโลก เช่น 777-200 / 777-200LR / 777-200ER / 777-300 / 777-300ER และ 777 Freighter เครื่อง Cargo สำหรับการบินขนส่งบรรจุภัณฑ์หรือสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง

ป้าม่วงสู้ๆ! การบินไทยเสริมแกร่งฝูงบิน BOEING 777-300ER รองรับ Demand โตต่อเนื่อง

SPONSORED

Boeing พัฒนาเครื่องบินโดยสารรุ่นนี้เมื่อช่วงปลายยุค 1980 จากความต้องการและปริมาณของผู้คนที่เดินทางทางอากาศที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี รวมถึงบรรดาสายการบินพาณิชย์ทั่วโลกที่มีความต้องการเครื่องบินรุ่นใหม่ที่จุผู้โดยสารได้มากกว่าเก่า กับความประหยัดในด้านเชื้อเพลิงและค่าบำรุงรักษา เครื่อง 777 มีค่าปฏิบัติการที่ต่ำกว่าเครื่องบินพาณิชย์แบบอื่นๆ อยู่พอสมควร เป็นการเข้ามาทดแทนอากาศยานรุ่นเก่าที่เริ่มปลดประจำการ เนื่องจากชั่วโมงบิน และเข้ามาแทนที่เครื่องบินโดยสารที่มีเครื่องยนต์มากกว่า 2 เครื่อง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า จากการประกาศรับรองของ ETOPs หรือ Extended Range Twin Engine Operational Performance Standards ที่อนุมัติให้เครื่องบินโดยสารแบบ 2 เครื่องยนต์สามารถบินข้ามมหาสมุทรได้

ป้าม่วงสู้ๆ! การบินไทยเสริมแกร่งฝูงบิน BOEING 777-300ER รองรับ Demand โตต่อเนื่อง

สำหรับ 777-200 นั้น นับเป็นเครื่องบินโดยสารรุ่นแรกที่ได้รับการออกแบบให้มีความยาว 63.7 เมตร ปีกกว้าง 60.9 เมตร โดยทำการติดตั้งเครื่องยนต์สมรรถนะสูงแบบเทอร์โบแฟน จำนวน 2 เครื่องยนต์ ที่ให้กำลังขับถึงเครื่องละ 70,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว 777-200 ขึ้นบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 12 มิถุนายน 2537 หลังจากนั้นได้มีการส่งมอบให้กับสายการบินพาณิชย์ทั่วโลก ประสิทธิภาพทางการบินระยะไกลถึง 9,700 กิโลเมตร รวมถึงความจุผู้โดยสารระหว่าง 314-440 ที่นั่ง ทำให้มันขึ้นถึงจุดสูงสุดของเครื่องบินโดยสารสมัยใหม่อย่างรวดเร็ว ในปี 2539 Boeing ได้เพิ่มเติมประสิทธิภาพของ 777-200 พร้อมกับตัวอักษร ER ต่อท้าย หรือ Extended Range ซึ่งติดตั้งเครื่องยนต์รุ่นใหม่เพิ่มเติมแรงขับขึ้นเป็น 90,000 ปอนด์ ช่วยเพิ่มพิสัยบินให้กว้างไกลมากยิ่งขึ้นเป็น 14,310 กิโลเมตร เครื่อง 777-200ER ขึ้นบินทดสอบครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2539 หลังจากนั้นทาง Boeing ได้ทำการส่งมอบให้กับสายการบินต่างๆ ที่สั่งซื้อจากความต้องการในการเพิ่มจำนวนของผู้โดยสารและระยะบินให้ไกลมากยิ่งขึ้นเพื่อครอบคลุมเส้นทางการบินทั่วโลก

ป้าม่วงสู้ๆ! การบินไทยเสริมแกร่งฝูงบิน BOEING 777-300ER รองรับ Demand โตต่อเนื่อง

จากยอดขายที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัท Boeing ทำการพัฒนาต่อยอดเครื่องบินโดยสารในตระกูล 777 ออกไปอีก โดยนำมาเพิ่มความยาวของลำตัวจากเดิม 63.7 เมตร เป็น 73.9 เมตร เปลี่ยนขุมกำลังใหม่ซึ่งเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนที่สามารถให้แรงขับดันมหาศาลที่ 98,000 ปอนด์ โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Boeing 777-300 สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากถึง 386-550 ที่นั่ง (แล้วแต่การตกแต่งของแต่ละสายการบิน) เครื่อง 777-300 มีพิสัยบินปฏิบัติการที่ 11,120 กิโลเมตร ขึ้นบินทดสอบเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2540 หลังจากนั้นจึงทยอยส่งมอบให้กับสายการบินที่สั่งซื้อในวันที่ 21 พฤษภาคม 2541

ป้าม่วงสู้ๆ! การบินไทยเสริมแกร่งฝูงบิน BOEING 777-300ER รองรับ Demand โตต่อเนื่อง

มาถึงปี พ.ศ.2546 ค่าย Boeing ได้ทำการเปิดตัวเครื่องบินโดยสารรุ่นใหม่ล่าสุดที่เพียบพร้อมไปด้วยนวัตกรรมการบินล่าสุด โดยใช้ชื่อว่า Boeing 777-300ER และมีความยาวลำตัวกับจำนวนผู้โดยสารเท่ากับ 777-300 เครื่องรุ่นใหม่ล่าสุดได้รับการติดตั้งปีกแบบใหม่ซึ่งช่วยทำให้บินได้ดีขึ้น และประหยัดเชื้อเพลิงมากยิ่งขึ้น ปีกแบบใหม่ของ 777-300ER มีความกว้างถึง 64.8 เมตร ผลิตจากวัสดุผสมเพื่อทำให้มันมีน้ำหนักที่เบาและแข็งแรงมากยิ่งขึ้น เครื่องบินโดยสาร Boeing 777-300ER เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ของ General Electric รุ่น 90-115B (GE90-115B) มันคือเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนรุ่นใหม่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกการบินพาณิชย์ ให้แรงขับดันมากถึง 115,300 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เพิ่มระยะบินให้ไกลถึง 14,690 กิโลเมตร เครื่องบิน 777-300ER ขึ้นบินทดสอบครั้งแรกในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2546 และทำการส่งมอบให้กับสายการบินต่างๆ ไปเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2547

ป้าม่วงสู้ๆ! การบินไทยเสริมแกร่งฝูงบิน BOEING 777-300ER รองรับ Demand โตต่อเนื่อง

พ.ศ.2549 Boeing นำ 777-200 กลับมาปรับปรุงเพิ่มเติมประสิทธิภาพทางการบินอีกครั้ง โดยยังคงความจุผู้โดยสารไว้เท่าเดิม แต่ปรับเปลี่ยนปีกให้มีความกว้างมากยิ่งขึ้น เพิ่มขนาดและความสูงของแพนหางระดับ รวมถึงการเปลี่ยนเครื่องยนต์ให้มีแรงขับดันมากขึ้นเป็น 110,000 ปอนด์ โดยใช้ชื่อว่า Boeing 777-200LR-Longer Range ซึ่งในภายหลังได้กลายมาเป็นเครื่องบินโดยสารแบบสองเครื่องยนต์ที่มีพิสัยบินไกลที่สุดในตระกูล 777 ครองสถิติเครื่องบินโดยสารที่บินได้ไกลมากที่สุดในโลกด้วยระยะบินเดินทางรวดเดียว 17,370 กิโลเมตร เครื่อง 777-200LR ขึ้นทำการบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 8 มีนาคม 2548 หลังจากนั้น Boeing ได้ทำการส่งมอบให้กับสายการบินที่สั่งซื้อในปี 2549

ป้าม่วงสู้ๆ! การบินไทยเสริมแกร่งฝูงบิน BOEING 777-300ER รองรับ Demand โตต่อเนื่อง

ในปี 2551 บริษัท Boeing เปิดตัวเครื่องบินขนส่งรุ่นใหม่ Boeing 777 Freighter ซึ่งเป็นเครื่อง 777 รุ่นแรกสุดที่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศ เครื่องบินรุ่นนี้มีคุณลักษณะภายนอกคล้ายกับ 777-200LR โดยมีความยาวลำตัว 63.7 เมตร ปีกกว้าง 64.8 เมตร ติดตั้งเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน 2 เครื่อง แต่ละเครื่องให้แรงขับดัน 110,000 ปอนด์ มีพิสัยบินที่ 9,070 กิโลเมตร เครื่อง Boeing 777 Freighter ขึ้นทดสอบเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2551 หลังจากนั้นจึงทยอยส่งมอบให้กับลูกค้าในช่วงต้นปี 2552 สำหรับเครื่อง 777 Freighter มีความแตกต่างจาก Boeing 777 รุ่นอื่นๆ คือไม่มีช่องหน้าต่างสำหรับผู้โดยสาร เนื่องจากเป็นเครื่องบินแบบขนส่งนั่นเอง

ป้าม่วงสู้ๆ! การบินไทยเสริมแกร่งฝูงบิน BOEING 777-300ER รองรับ Demand โตต่อเนื่อง

20 ปี นับจาก Boeing 777 ลำแรก ขึ้นทดสอบการบิน บริษัท Boeing ยังคงพัฒนาเครื่องบินตระกูลนี้อย่างต่อเนื่อง ในเดือนกันยายน 2554 บริษัท Boeing ได้ทำการนำเสนอเครื่อง 777 รุ่นใหม่ล่าสุดจำนวนสองรุ่นคือ Boeing 777-8X และ 777-9X สำหรับเครื่องบิน Boeing 777-8X มีความยาวลำตัวเพิ่มเป็น 69.5 เมตร ส่วน Boeing 777-9X มีความยาวรวม 76.5 เมตร เครื่องบินรุ่นล่าสุดทั้งสองโมเดลใช้ปีกรุ่นใหม่ผลิตจากวัสดุผสมพวกคาร์บอน คอมโพสิต วิศวกรของ Boeing ยังได้ทำการขยายความยาวของปีกออกไปอีกเป็น 71.3 เมตร ในเครื่อง 777-9X พร้อมๆ ไปกับการติดตั้งเครื่องยนต์รุ่นใหม่ในรหัส GE-9X ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจากเครื่องยนต์ในตระกูล GE-90 โดยทำการลดแรงขับดันลงเหลือ 99,500 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว สำหรับ Boeing 777-9X ส่วนรุ่น 777-8X นั้น คาดว่ามันจะจุผู้โดยสารได้ 353 ที่นั่ง โดยมีพิสัยบินไกลถึง 17,557 กิโลเมตร เป็นการท้าชนกับคู่ต่อสู้ในตลาดเครื่องบินพาณิชย์กับค่าย Airbus ซึ่งมีเครื่องรุ่นใหม่ Airbus A350-1000 ส่วน Boeing 777-9X นั้นมีความจุผู้โดยสารระหว่าง 407 ที่นั่ง และมีพิสัยบินไกลถึง 15,000 กิโลเมตร.

เอกสารอ้างอิง ข้อมูลประกอบบทความจาก
THE AERO issue 2 

อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail [email protected]
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
https://www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-525369247505358/

ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่: https://thaihotnews.info/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *