ฟังสถิติคุณอาจจะตกใจเลยทีเดียว กรมทางหลวงเปิดเผยอุบัติเหตุบนท้องถนนระหว่างปี 2551-2561 พบว่าสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ 4% เกิดจากการหลับในขณะขับรถ และคาดว่าแนวโน้มจะสูงขึ้นทุกปี เรามาดูสาเหตุของอาการหลับในกันครับว่าเกิดจากอะไร

.css-1b3yg0y #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-1b3yg0y .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-1b3yg0y .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-1b3yg0y .forum2022-logoSponsor-text::after{content:”;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-1b3yg0y ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-1b3yg0y ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-1b3yg0y ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}

การหลับในจะเป็นอาการหลับวูบสั้นๆ เพียง 1-2 วินาที ร่างกายมีการทำงานช้าลง สับสนระหว่างการหลับและตื่น เหมือนหลับและตื่นอย่างเฉียบพลัน กรมสุขภาพจิตถึงกับระบุว่า การหลับในมีความอันตรายในการขับขี่เทียบเท่ากับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีผลต่อการประมวลผล ความสนใจในกิจกรรมที่ทำแย่ลงและตอบสนองช้า

สัญญาณเตือนร่างกายกำลังจะหลับใน

– หาวบ่อย ลืมตาไม่ขึ้น
– เริ่มไม่สนใจสัญญาณไฟหรือกฎจราจรเพราะขาดสมาธิในการขับขี่
– จำไม่ได้ว่าขับรถผ่านเส้นทางอะไรมาบ้างในช่วงก่อนหน้า

แก้อาการง่วงก่อนจะเกิดการหลับใน

1. จอดรถพักทุกๆ 150 กิโลเมตรหรือทุก 2-3 ชั่วโมง
2. ดื่มน้ำบ่อยๆ เพราะเมื่อร่างกายไม่ขาดน้ำ จะไม่อ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้ามากนัก
3. หาสิ่งกระตุ้นสติผู้ขับขี่ เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ขนมรสจัด เครื่องดื่มอร่อยๆ หรือลูกอม
4. คุยกับเพื่อนร่วมทาง หรือหาเพลงฟัง ร้องตามเรียกสติ
5. จอดรถในที่ปลอดภัยแล้วหลับให้สนิทสัก 15 นาที เชื่อเถอะนอนสั้นๆ แต่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้คุณตื่นพร้อมสมองที่ปลอดโปร่ง

ป้องกันอาการหลับใน

  • พักผ่อนให้เพียงพอและไม่ทำกิจกรรมหนักอย่างน้อย 2 วันก่อนเดินทางไกล
  • ก่อนออกเดินทาง 1 วัน ควรงดดื่มเครื่องดื่มมีกาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ เนื่องจากกาเฟอีนมีฤทธิ์ให้นอนไม่หลับ จนทำให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อนก่อนการเดินทาง
  • ก่อนออกเดินทางไม่ควรรับประทานอาหารอิ่มเกินพอดี เพราะร่างกายจะง่วงซึม อีกทั้งไม่ควรรับประทานยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วง และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

SPONSORED

ผู้เขียน : เครื่องยนต์คนขยัน 

ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่: https://thaihotnews.info/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *